“วาโก้” ผลิตบราดี พร้อมรับกำจัดถูกวิธี เพื่อโลกใบนี้ เพื่อทุกคน ในโครงการ “วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ” ปีที่ 13
“ภาวะโลกร้อน” สาเหตุหนึ่งคือการกำจัดขยะอย่างผิดวิธี เช่น การเผาในที่โล่งเกิดการปล่อยก๊าซก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่น PM 2.5 หรือแม้แต่การฝังกลับก็ทำให้เกิดก๊าซมีเทน เป็นต้น วาโก้แบรนด์ชุดชั้นในอันดับ 1 ของทุกคน ทุกวัย ใส่ใจและจริงจังต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงสานต่อโครงการวาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ เป็นปีที่ 13 เพราะเชื่อว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะทุเลาลงได้จากสิ่งเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ ด้วยการบริจาคชุดชั้นในเก่าทั้งหญิง-ชายทุกแบรนด์กับวาโก้ เพื่อนำไปกำจัดโดยการเผาถูกวิธี เพราะ “บราหรือชุดชั้นใน” วัสดุส่วนใหญ่ทำจากโพลิเมอร์ ส่งผลให้บรา 1 ตัวใช้เวลาย่อยสลายกว่า 400 ปี โดยตั้งเป้ารับบริจาค 210,000 ตัวในปี 2567 ปีที่ 13 ของการก่อตั้งโครงการ
นางอินทิรา นาคสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วาโก้ยังครองความเป็นผู้นำธุรกิจชุดชั้นในด้วยวิสัยทัศน์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญและดูแลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งผลิตภัณฑ์วาโก้ทุกชิ้นที่ผ่านกระบวนการผลิตปลอดสารพิษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงกระบวนการจัดการกับผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี กับโครงการวาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ โดยรับชุดชั้นในเก่าหญิง-ชายทุกแบรนด์ สามารถมาบริจาคได้ที่ร้านค้าวาโก้ทั่วประเทศหรือทางไปรษณีย์ ชุดชั้นในที่ได้รับบริจาคทั้งจากร้านค้าและไปรษณีย์ จะนำมารวบรวมใส่ตู้คอนเทนเนอร์ที่วาโก้สำนักงานใหญ่และขนย้ายไปที่ จ.สระบุรี โดยร่วมกับ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP นำชุดชั้นในเก่าไปกำจัดโดยการเผาอย่างถูกวิธีแบบ Zero Waste (เปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์) แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ทดแทนการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงานจากฟอสซิลต่างๆ ลดผลกระทบการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือลดโลกร้อน (Global Warming) ทั้งยังลดขยะชุมชน และลดฝุ่น PM 2.5
ในปี 2566 ที่ผ่านมาวาโก้ได้ร่วมกับพันธมิตรมากมายในภารกิจรักษ์โลก อาทิ ไปรษณีย์ไทย บริจาคชุดชั้นในเก่าหญิง-ชายทุกแบรนด์ ส่งฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไปรษณีย์ไทยทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 66 ตั้งกล่องรับบริจาคที่การประปานครหลวง สำนักงานใหญ่และสำนักงานประปา 3 สาขา, สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร, องค์กรสื่อฯ และมหาวิทยาลัยชั้นนำ เป็นต้น ด้วยความร่วมมือเหล่านี้ส่งผลดีต่อโครงการดีเกินคาด เพราะในปี 2556 ตั้งเป้ารับบริจาค 120,000 ตัว แต่ได้รับบริจาคถึง 201,200 ตัวเลยทีเดียว
ในปี 2567 ตั้งเป้ารับบริจาคไว้ที่ 210,000 ตัว โดยเพิ่มจุดตั้งกล่องรับบริจาคไปยังองค์กร หน่วยงานรวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงจัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Wacoal Braday On Tour” การลงพื้นที่รับบริจาคชุดชั้นในเก่าหรือไม่ใช้แล้วไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ รวมถึงออฟฟิศบิลดิ้งเจาะกุล่มคนทำงาน บริจาคชุดชั้นในยังได้ร่วมเล่นเกมส์สนุกๆ รับของรางวัล นอกจากสร้างความบันเทิง ยังสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ เสริมด้วยการทำ Survey ผ่านทาง Online เพื่อนำผลสำรวจไปปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้น วัตุประสงค์ของกิจกรรมคือ เพิ่มความสะดวกในการบริจาคและเพื่อการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยนำร่องกิจกรรมเฟสแรกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 67 นี้ ที่แรกวาโก้สำนักงานใหญ่ เพราะต้องการให้พนักงานวาโก้ที่มีเกือบ 3,000 คน ได้มีส่วนร่วมกับองค์กรในการปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถสื่อสารโครงการให้คนภายนอกได้ทราบอย่างภูมิใจและเข้าใจค่ะ” นางอินทิรา กล่าวทิ้งท้าย
นับตั้งแต่ก่อตั้งโครงการในปี พ.ศ. 2555-2566 วาโก้ได้มีส่วนช่วยกำจัดบราเสื่อมสภาพไปแล้วจำนวน 921,864 ตัว รวมน้ำหนัก 92,186 กิโลกรัม หรือลดขยะชุมชนไปได้กว่า 92 ตัน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการฝังกลบ และจากการใช้ทดแทนพลังงานถ่านหินได้กว่า 461 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ถึงกว่า 49,934 ต้น
จากสถิติปี 2567 อ้างอิงจาก populationpyramid.net พบว่าจำนวนผู้หญิงไทยอายุระหว่าง 10-69 ปี มีจำนวนกว่า 29,273,824 คน หากคาดการณ์จำนวนผู้หญิงไทยที่ซื้อชุดชั้นในใหม่ จำนวนปีละ 5-12 ตัวต่อปี คาดว่าจะเกิดการทิ้งชุดชั้นในเก่าที่เสื่อมสภาพคนละ 2 ตัวต่อปี เท่ากับว่าจะเกิดขยะพลาสติกจากชุดชั้นในเก่าเพิ่มขึ้นกว่า 5,855 ตันต่อปี
ร่วมบริจาคชุดชั้นในเก่าทั้งหญิงและชายทุกแบรนด์ ตลอดทั้งปีที่วาโก้ช็อปและเคาน์เตอร์วาโก้ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือทางไปรษณีย์ส่งถึงโครงการวาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) 132 ซอยเจริญราษฎร์ 7 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120