“WHAUP” ประเดิม COD โครงการ Solar Rooftop ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ เฟสแรก ขนาด 19.44 MW พร้อมลุยเซ็นสัญญาติดตั้ง Solar Rooftop เฟส 2 ขนาด 4.80 MW

“WHAUP” ประเดิม COD โครงการ Solar Rooftop ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ เฟสแรก ขนาด 19.44 MW พร้อมลุยเซ็นสัญญาติดตั้ง Solar Rooftop เฟส 2 ขนาด 4.80 MW

บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (“WHAUP”) ดีเดย์ เปิดจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) เฟสแรก ให้ บริษัท ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ชั้นนำจากประเทศจีน กำลังผลิตไฟฟ้า 19.44 เมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมลุยเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) เฟสที่ 2 ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ รวมเป็น 24.24 เมกะวัตต์ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 บนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้าน CEO “สมเกียรติ เมสันธสุวรรณ” ระบุความร่วมมือกับ “ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินการโครงการโซลาร์บนหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ช่วยให้ลูกค้าลดการปล่อย CO2 Offset  ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 445,251 ตัน ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี

นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) ของ บริษัท พรินซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเฟสแรก ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 19.44 เมกะวัตต์ และพร้อมดำเนินการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อมกราคม 2566 ที่ผ่านมา และล่าสุด บริษัทฯ ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์ ในโครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) เฟสที่ 2 ที่มีขนาดการผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ต่อกับ พรินซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2567 โดยเฟสที่ 2 มีการติดตั้ง Solar Rooftop บนพื้นที่หลังคาโรงงานขนาด 40,000 ตารางเมตร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ WHAUP นับตั้งแต่ที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 บนพื้นที่ 285 ไร่ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา และยังเป็นพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นการตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินการโครงการโซลาร์บนหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 24.24 เมกะวัตต์ และเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการให้บริการติดตั้ง Solar rooftop  แบบครบวงจรของ WHAUP โดยโครงการทั้ง 2 เฟสนี้สามารถช่วยให้ลูกค้าลดการปล่อย CO2 Offset ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 445,251 ตัน ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี

“การติดตั้งโครงการนี้ ส่งผลให้ยอดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP เพิ่มขึ้นแตะระดับ 703.19 เมกะ นอกจากนี้ WHAUP ยังมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน  พร้อมเดินหน้าลงทุนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่วางไว้”

ด้าน มร.จาง โหย่ว กั้น คณะกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไปโรงงาน ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ในเครือเฉิงซาน กรุ๊ป กล่าวว่า “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) เฟสที่ 2 มีขนาดการผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ เฉิงซาน กรุ๊ป ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลจีนในการพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มลดปริมาณคาร์บอนให้ต่ำลง และเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สูง รวมถึงแนวคิดการผลักดันแนวคิดเส้นทางสายไหมสีเขียว (Green Silk Road) สำหรับกระบวนการผลิตในต่างประเทศนั้น และยึดมั่นในแนวคิดของการก่อสร้างโรงงานสีเขียวเสมอมา โดยได้ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเร่งการบูรณาการเชิงลึกของอุตสาหกรรมสีเขียว และอุตสาหกรรมการผลิตแบบดั้งเดิมเพื่อรับประกันความมั่นคงทางระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จในเฟสแรกและดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความร่วมมือกับบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) อย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้โรงงานของปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 24.24 เมกะวัตต์  สิ่งนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการพัฒนาโครงการสีเขียว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม

“โครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายในการส่งเสริมการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และยัง ช่วยให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการลดต้นทุนพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ได้ยึดมั่นปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการเฟสแรกช่วยให้บริษัทฯ ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Offset) ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 357,118 ตัน ส่วนโครงการเฟสที่ 2 ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Offset)   ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 88,133 ตัน  ตามนโยบายรักษ์โลก ลดโลกร้อน และลดการเกิดภาวะเรือนกระจกอีกด้วย”

บอร์ด PROUD อนุมัติเข้าศึกษาซื้อ 2 โครงการ NUE District R9 & NUE Cross Khu Khot มูลค่ารวมกว่า 8,623 ล้านบาท ขยายฐานทุน สร้างการเติบโตก้าวกระโดด

บอร์ด PROUD อนุมัติเข้าศึกษาซื้อ 2 โครงการ NUE District R9 & NUE Cross Khu Khot มูลค่ารวมกว่า 8,623 ล้านบาท ขยายฐานทุน สร้างการเติบโตก้าวกระโดด

บอร์ด PROUD อนุมัติเข้าศึกษาซื้อ 2 โครงการ NUE District R9 และ NUE Cross Khu Khot จาก บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ หรือ NOBLE และ บริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด หรือ TNL มูลค่าโครงการรวมกว่า 8,623 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายพอร์ต เพิ่มความหลากหลาย เสริมสภาพคล่อง สร้างการเติบโตก้าวกระโดด ดัน Backlog แตะ 10,000 ล้านบาท เตรียมเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 29 มิ.ย.นี้ ออกหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering : RO) ราคา 1.75 บาทต่อหุ้น รวมเงินทุนจากสถาบันการเงินเป็น แหล่งเงินทุนจำนวน 2,490 บาท

คุณพสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PROUD เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา PROUD ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อหุ้นสามัญ ของบริษัท คูคต สเตชัน อัลไลแอนซ์ จำกัด  และ บริษัท พระราม 9 อัลไลแอนซ์ จำกัด  ในสัดส่วน100% จาก บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด (มหาชน) หรือ NOBLE และ บริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด หรือ TNL โดยทั้งสองบริษัทดำเนินงานพัฒนาใน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ NUE District R9  คอนโดมิเนียม High Rise ขนาดใหญ่ บนทำเลคุณภาพย่าน CBD (Central Business District)  ติดถนนพระราม 9 ใกล้กับ MRT พระราม 9 ที่ครบครันด้วยพื้นที่ส่วนกลางหลากหลายฟังก์ชันทั้ง Indoor และ Outdoor บนเนื้อที่กว่า 6 ไร่ มูลค่าโครงการ 6,519 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมียอดขาย (pre-sales) แล้ว 83% คาดรับรู้รายได้ภายในปี 2568 และ โครงการ NUE Cross Khu Khot  คอนโดมิเนียม Low Rise บนทำเลคุณภาพ บนถนนลำลูกกา ติดสถานีรถไฟฟ้าคูคต พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในโครงการ มูลค่าโครงการ 2,104 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขาย (pre-sales) แล้ว 100% คาดว่าจะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ในต้นปี 2567

            สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนดังกล่าว จะส่งผลให้บริษัทขยายฐานเงินทุน สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พร้อมศักยภาพในการขยายธุรกิจได้ใหญ่ขึ้น ผลักดันให้บริษัทมี Backlog เพิ่มขึ้นทันที 7,515 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 2,180 ล้านบาท สามารถรับรู้รายได้และเพิ่มกำไรสุทธิในปี 2567-2568 อีกทั้งเพิ่มมูลค่าของบริษัทและผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น

            ในส่วนของการลงทุนซื้อ โครงการ NUE District R9 และ โครงการ NUE Cross Khu Khot เป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,735 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM ) เพื่อระดมทุนจำนวน 2,490 ล้านบาท โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของ PROUD (Right Offering : RO) ในอัตราส่วน 1.80 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 1.75 บาทต่อหุ้น รวมมูลค่าไม่เกิน 624 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินเพื่อเป็นเงินทุนและเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงาน

“ออริจิ้น” โชว์พอร์ตซื้ออสังหาฯ ผ่าน IP Program 2 ปี ทะลุกว่า 2,000 ยูนิต ส่ง Origin Place Bangna by Hampton ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ปันผลนาน 10 ปี*

“ออริจิ้น” โชว์พอร์ตซื้ออสังหาฯ ผ่าน IP Program 2 ปี ทะลุกว่า 2,000 ยูนิต ส่ง Origin Place Bangna by Hampton ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ปันผลนาน 10 ปี*

ORI โชว์ฟอร์มพอร์ตลงทุน Serviced Residence ที่นักลงทุนซื้อผ่านระบบ IP Program หลังเปิดได้ 2 ปี รวมกว่า 2,000 ยูนิต ตั้งเป้าอีก 2 ปีเพิ่มเป็น 5,000 ยูนิต ล่าสุดเชิญนักลงทุนร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่สร้างรายได้สม่ำเสมอแบบ Pool Dividend นาน 10 ปี ต่อ 10 ปี* กับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน โครงการ Origin Place Bangna by Hampton เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์หรูใน ORIGIN SMART COMPLEX BANGNA อาณาจักร  Mixed-Use ที่ครบวงจรที่สุดบนถนนบางนา-ตราด ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ประตูสู่ EEC ทำเลที่มีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนมูลค่านับแสนล้านบาท

นายสิริพงศ์ ศรีสว่างวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึง กระแสการซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทห้องชุดคอนโดมิเนียมและ เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์เพื่อการลงทุนผ่านระบบที่เรียกว่า Investment Property Program หรือ IP Program บริหารงานโดยทีมงานมืออาชีพจาก Hampton Hotel & Residence Management (HHR) ในเครือ ORI ว่า ตลาดผู้บริโภคให้การตอบรับดีมากๆ โดยตลอด 2 ปีที่นำเอาระบบ IP Program มาใช้มีนักลงทุนซื้อที่อยู่อาศัยประเภทเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ เพื่อการลงทุนแล้วกว่า 2,000 ยูนิตจาก 10 โครงการที่ ORI นำมาขายผ่านระบบดังกล่าว บริษัทจึงตั้งเป้าในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปี 2567-2568) จะเพิ่มพอร์ตเป็น 5,000 ยูนิต พร้อมนำ HHR เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI

โดยอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโครงการแรกที่นำเข้าระบบ IP  Program เต็มรูปแบบ คือ แฮมป์ตัน ศรีราชา เป็นเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์หรู 5 ดาวมูลค่า 1,400 ล้านบาท และเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง ORI กับ “กลุ่มดุสิตธานี” ส่วนอสังหาริมทรัพย์โครงการใหม่ล่าสุดที่นำมาทำการตลาดและขายผ่าน IP  Program คือ “ออริจิ้น เพลส บางนา” (Origin Place Bangna) เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์หรู ที่ตั้งอยู่ภายในโครงการ ORIGIN SMART COMPLEX BANGNA อาณาจักร  Mixed-Use ครบวงจรบนถนนบางนา-ตราด ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จที่นี่จะกลายเป็น THE NEW LANDMARK IN BANGNA ครบทุกส่วนผสมลงตัวทุกการใช้ชีวิตตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่  ศูนย์กลางธุรกิจประตูสู่ EEC ทำเลที่มีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนมูลค่าเป็นแสนล้านบาท

นายสิริพงศ์ ยังกล่าวด้วยว่า IP Program เป็นคอนเซ็ปต์การลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบใหม่ ที่เป็นการซื้อเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ โดยนักลงทุนที่เข้าซื้อห้องพักในโครงการจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด สามารถซื้อ-ขายต่อเปลี่ยนมือได้ และยกให้เป็นมรดกหรือสามารถนำไปเป็นสินทรัพย์ในการค้ำประกันสินเชื่อได้ด้วยเช่นกัน

โดยหลังจากที่ซื้อไปแล้ว HHR จะเข้ามาดูแลและหาผู้เช่าพร้อมการบริการลูกค้าด้วยมาตรฐานโรงแรมระดับสากล รวมทั้งจ่ายเงินปันผลแบบต่อเนื่องนาน 10 ปี ต่อสัญญาครั้งละ10 ปี* พร้อมกับเปิดให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาเสนองานบริการแข่งในการต่อสัญญา 10 ปีหลัง

ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าว จะอยู่บนพื้นฐานความตกลงยอมรับร่วมกันผ่านระบบ ‘Mutual Agreement Program’ ตกลงที่จะเฉลี่ยรายได้และเฉลี่ยรายจ่ายร่วมกันแบบเป็นกลุ่ม หรือเรียกว่าแบบแชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน (Pool Dividend )โดย HHR จะเข้ามาดูแลและดำเนินการต่างๆ แทนทั้งหมดถือเป็นการลดภาระลูกค้าที่มาลงทุนในพร็อพเพอร์ตี้ ดังนี้

  • เจ้าของห้องไม่ต้องลงทุนเพิ่มเกี่ยวกับการตกแต่ง อุปกรณ์เพื่อการเช่า
  • เจ้าของห้องไม่ต้องจ่ายค่าดูแล ค่ารักษามิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต รวมถึงค่าซ่อมแซม
  • เจ้าของห้องไม่ต้องเสี่ยงติดลบกับการบริหารจัดการ ค่าพนักงาน และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ HHR จะคอยดูแลทรัพย์สินและรับความเสี่ยงนั่นเองแลกกับค่าบริการทั่วไปรวมอยู่ในค่าเช่าห้องที่ทาง HHR จะหักไว้จากรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน อาทิ ค่าธรรมเนียม (ค่า Fee) 5%, ค่าประกันภัย 1%, เป็นต้น

“หลังจากลงทุนแล้วลูกค้าอยู่เฉยๆ รอเงินจากค่าเช่าเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือน ส่วนความเสี่ยงนั้นแทบปิดความเสี่ยงทุกประตู ยิ่งไปกว่านั้นอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนไประยะยาวจะมี Capital Gain เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” นายศิริพงศ์ กล่าว และย้ำว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านระบบ IP Program เป็นการลงทุนเพื่อความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง  โดยผลตอบแทนหรือเงินปันผลได้จากการลงทุนนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ เช่น ทำเลในเมืองย่านทองหล่อ หรือสุขุมวิท 24 ก็จะได้ค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 800-900 บาทต่อตารางเมตร ขณะที่ทำเลในต่างจังหวัดก็จะอยู่ประมาณ 300-400 บาทต่อตารางเมตร”

สำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโครงการใหม่ล่าสุดที่นำมาทำการตลาดและขายให้กับนักลงทุนผ่าน IP  Program คือ “ออริจิ้น เพลส บางนา” (Origin Place Bangna) เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์หรู ที่ตั้งอยู่บนอาณาจักรมิกซ์ยูส ORIGIN SMART COMPLEX BANGNA  ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ซึ่งมีจำนวนห้อง 399 ยูนิตเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ คาดว่านักลงทุนน่าจะจองซื้อหมด

โดยทางทีมงานการตลาดและฝ่ายขาย อีกทั้งเครือออริจิ้นได้ผนึกกำลังกับเอเจ้นท์เกือบ 50 รายบุกตลาดเช่าต่างชาติรับแผนเปิดประเทศ รวมทั้งทีมงานได้เจาะตรงถึงลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือบริษัทข้ามชาติที่มาเปิดกิจการลงทุนในไทยตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผู้เช่าส่วนใหญ่ 65-70% จะเป็นผู้เช่าต่างชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศไทยหรือนักลงทุนที่มาพักอาศัยเป็นเวลานาน โดยผู้เช่ากลุ่มนี้จะเช่าแบบเหมาเป็นรายเดือน ส่วนสัดส่วนที่เหลือ 30-35% จะเป็นนักธุรกิจในไทย

“ORIGIN SMART COMPLEX BANGNA” เป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 8 ไร่ติดถนนบางนา-ตราด เป็นโครงการ  Mixed-Use ครบวงจรที่สุดในย่านบางนา-ตราด ประกอบด้วย โรงแรม 200 KEYs, สมาร์ทออฟฟิศ 30,000 ตารางเมตร, พื้นที่รีเทล (ร้านค้า), คอนโดมิเนียม 375 ยูนิต และเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ 399 ยูนิต รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 4,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2566 นี้และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2568

โครงการ ORIGIN SMART COMPLEX BANGNA มีความโดดเด่นทั้งคอนเซ็ปต์ในการพัฒนาโครงการ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการครบครัน และโดดเด่นเรื่องทำเลที่ตั้งที่ติด Interchange Station 2 สาย แค่ 0 เมตร จากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีศรีเอี่ยมและรถไฟฟ้ารางเบา (LRT : Light Rail Train) ที่วิ่งเข้าสู่สนามบิน

นอกจากนี้ย่านบางนายังได้ชื่อว่าเป็นประตูสู่เขตเศรษฐกิจตะวันออก (EBD : Eastern Business District)  ซึ่งออริจิ้น มั่นใจว่าในอีก 5-6 ปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจการลงทุนและอยู่อาศัย เพราะที่นี่ “บางนา” ทำเลศักยภาพศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ New CBD ที่รายล้อมด้วย Super Mega Project  อาทิ The Bangkok Mall, เมกา ซิตี้ บางนา, ทรูดิจิทัลพาร์ค เฟส 3, WHA Bangna Business Complex, AIA East Gateway รวมถึงโครงการลงทุนขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2,3,4 รองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการกว่า 90 ล้านคนต่อปี โครงการขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชน เหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยผลักดันให้ในอนาคตบางนาจะกลายเป็นทำเลทอง เนื่องจากในแต่ละปีราคาที่ดินและราคาที่อยู่อาศัยขยับขึ้นทุกปี

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุน IP Progam กับโครงการ “Origin Place Bangna by Hampton” เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์หนึ่งเดียวติดถนนบางนา-ตราด เยื้องเซ็นทรัลบางนา ใกล้รถไฟฟ้า 2 สาย ยูนิตลงทุนเริ่มที่ 3.59ล้านบาท* นัดหมายหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานขายโครงการ Origin Place Bangna หรือโทร 020 300 000

SJWD ประกาศแผนรุกใหญ่ขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค เตรียมถือหุ้น SCG Inter Vietnam เพิ่มรายได้จากบริการแก่ธุรกิจเครือ SCG ในเวียดนาม วางกลยุทธ์นำซักเซสโมเดล ‘คลังสินค้าห้องเย็น’ และ ‘โลจิสติกส์ยานยนต์’ บุกต่างประเทศ

SJWD ประกาศแผนรุกใหญ่ขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค เตรียมถือหุ้น SCG Inter Vietnam เพิ่มรายได้จากบริการแก่ธุรกิจเครือ SCG ในเวียดนาม วางกลยุทธ์นำซักเซสโมเดล ‘คลังสินค้าห้องเย็น’ และ ‘โลจิสติกส์ยานยนต์’ บุกต่างประเทศ

บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ประกาศแผนขยายธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในภูมิภาคอาเซียนหลังรวมกิจการ เดินหน้าแผนงาน ส่วน ผลักดันเป้าหมายรายได้ปีนี้ 30,000 ล้านบาท ภายใต้งบลงทุนรวม 3,500-5,000 ล้านบาท และวางเป้าหมายรายได้ ปีข้างหน้า (ปี 2567-2569) เติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี นำร่องผสานความร่วมมือลดต้นทุนจากการรวมคำสั่งซื้อสินค้าและบริการ มุ่งขยายธุรกิจเดิมและรุกบริการใหม่ เตรียมลุยดีลใหญ่เข้าถือหุ้น 100% ใน SCG Inter Vietnam เพื่อให้บริการแก่ธุรกิจเครือ SCG และลูกค้าทั่วไปในเวียดนาม รุกให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนกัมพูชา-ไทยแบบ “ไฮบริด โมเดล” ทางรางและรถ วางแผนนำโมเดล “คลังสินค้าห้องเย็น” และ “โลจิสติกส์ยานยนต์” ในไทย บุกเวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดเผยว่า หลังจากบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด และบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ได้รวมกิจการเป็นบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ผสานความร่วมมือตามแผนงาน ส่วนที่วางไว้ ได้แก่ (1) การประหยัดต้นทุนและเพิ่มรายได้จากการ Cross-Sale และ Up-Sale จากฐานลูกค้าเดิม (2) สร้างมูลค่าเพิ่มแก่บริการเดิมที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ (3) เชื่อมต่อการให้บริการในภูมิภาคอาเซียนแบบไร้รอยต่อโดยนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยไปขยายในอาเซียน (4) ให้บริการแบบ D2C (Direct to Consumer) ตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และ (5) ขยายขอบเขตการให้บริการอย่างต่อเนื่องไปยังธุรกิจใหม่ โดยบริษัทฯ วางเป้าหมายปี 2566 มีรายได้รวม 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนเป็นรายได้จากในประเทศไทยประมาณ 90% และต่างประเทศอีก 10% พร้อมตั้งงบลงทุนรวม 3,500-5,000 ล้านบาท และคาดหวังปิดดีล M&A เพิ่มเติมได้ภายในปีนี้ ส่วนเป้าหมายระยะยาวในปี 2569 หรืออีก ปีข้างหน้า จะมียอดขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 12% โดยคาดว่าสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 30%

ทั้งนี้ หลังจากรวมกิจการแล้วในช่วงที่ผ่านมาได้ผสานความร่วมมือกันเพื่อลดต้นทุนแล้วบางส่วน ได้แก่ การรวมคำสั่งซื้อสินค้าและบริการ เช่น การใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, ซื้อประกันภัย เป็นต้น การรวมฟลีตรถและเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ การปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ โดยบริษัทจัดอันดับเครดิตซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนทางการเงิน นอกจากนี้ได้ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของทั้ง ฝ่ายทำ Cross-Sale และ Up-Sale เพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต ส่วนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริการเดิม การเชื่อมต่อบริการในภูมิภาคอาเซียนโดยนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในไทยไปต่อยอด การให้บริการแบบ D2C และการขยายขอบเขตการบริการไปยังธุรกิจใหม่นั้น จะดำเนินการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ขยายธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ขยายธุรกิจในไทยและอาเซียน ล่าสุดเตรียมเข้าซื้อหุ้น 100% ในบริษัท เอสซีจี อินเตอร์ เวียดนาม จำกัด หรือ SCG Inter Vietnam จากบริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตามแผนงานที่วางไว้ โดยปัจจุบัน SCG Inter Vietnam เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในประเทศเวียดนาม มีลูกค้าหลักเป็นธุรกิจในเครือ SCG และให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไป ล่าสุดเตรียมให้บริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายแก่สินค้าเคมีภัณฑ์ในโครงการ Long Son Petrochemicals (LSP) ซึ่งเป็นโครงการคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศเวียดนาม ที่ลงทุนโดยเครือ SCG คาดว่าการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จในวันที่ มิถุนายน 2567 และบริษัทฯ คาดว่าในช่วงแรกจะรับรู้รายได้จาก SCG Inter Vietnam 800-1,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ได้วางแผนร่วมมือกับ Transimex Corporation ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นที่เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำในประเทศเวียดนามเพื่อร่วมกันขยายธุรกิจในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการขยายขอบเขตการบริการไปยังธุรกิจใหม่ บริษัทฯ ได้ต่อความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนของทั้ง ฝ่าย กับ Cambodia Railway พาร์ทเนอร์จากกัมพูชา เพื่อให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากกัมพูชา-ไทย ในรูปแบบแบบ “ไฮบริด โมเดล” ครอบคลุมการขนส่งทางรางและทางรถ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพการให้บริการและช่วยลดต้นทุนแก่ลูกค้า โดยบริษัทฯ ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกในไทยที่สามารถให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากกัมพูชา-ไทย แบบไฮบริดและ “Door-to-Door Service” (จากผู้ส่งถึงผู้รับ) ตอกย้ำการเป็นFirst Mover ในการนำเสนอบริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน นอกจากนี้ได้วางแผนยกระดับธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถ เป็น “สถาบันสอนขับรถ” เพื่อขยายบริการฝึกอบรมแก่บุคลากรภายในเครือ SCG ไปยังลูกค้าภายนอก

นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม SJWD กล่าวว่า บริษัทฯ วางแผนขยายธุรกิจเดิมและรุกให้บริการใหม่ ๆ ผ่านการร่วมทุนและทำ M&A โดยเตรียมนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ต่อยอดขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายการให้บริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในระดับภูมิภาคและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ล่าสุด บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจให้บริการขนส่งชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย  โดยมีแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศ เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการขนส่งชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ไปยังโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจรและจัดส่งแก่ดีลเลอร์รถทั่วประเทศ คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้บางส่วนในปีหน้าและรับรู้รายได้เต็มปีตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างวางแผนนำโมเดลธุรกิจ “คลังสินค้าห้องเย็น” และ “โลจิสติกส์ยานยนต์” ไปขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรสูงสุด อันดับแรกในอาเซียน รูปแบบจะเป็นการเข้าถือหุ้นหรือร่วมลงทุนกับพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศ โดยมองว่าทั้ง ประเทศดังกล่าวมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นและยังเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของภูมิภาคอีกด้วย

นอกจากนี้ ได้วางแผนขยายการให้บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ยาและเวชภัณฑ์, สินค้าเพื่อสุขภาพเป็นต้น ซึ่งจะต่อยอดจากความเชี่ยวชาญในบริการคลังสินค้าห้องเย็นและรถขนส่งควบคุมอุณหภูมิสำหรับวัคซีน โดยได้วางงบลงทุน (เฉพาะธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ) ตามแผน ปี ประมาณ 450 ล้านบาท

“หลังจากรวมกิจการเป็น เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ ทำให้บริษัทฯ มีความแข็งแกร่งและศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยผสานความเชี่ยวชาญ เพื่อรุกขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และพร้อมรับมือกับการแข่งขันในอุตสาหกรรมและความท้าทายจากปัจจัยต่าง ๆ”นายชวนินทร์ กล่าว

GGC เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2566 ส่งสัญญาณ ครึ่งปีแรกธุรกิจเมทิลเอสเทอร์ฟื้นตัว

GGC เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2566 ส่งสัญญาณ ครึ่งปีแรกธุรกิจเมทิลเอสเทอร์ฟื้นตัว

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “GGC” ประเมินธุรกิจเมทิลเอสเทอร์ครึ่งปีแรก 2566 ฟื้นตัว จากที่ภาครัฐปรับเพิ่มสัดส่วนผสมน้ำมันไบโอดีเซลเป็น B7 รองรับภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวจาก COVID-19 คลี่คลาย พร้อมแจ้งงบไตรมาส 1/2566 โชว์รายได้จากการขายรวมทั้งหมด 4,662 ล้านบาท พร้อมเร่งเดินหน้า กลยุทธ์ The New Chapter of GGC to be the Sustainable Growth Business” เสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจปัจจุบัน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ สู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยถึงแนวโน้มสถานการณ์ตลาดและธุรกิจในครึ่งแรกของปี 2566 ว่า ความต้องการเมทิลเอสเทอร์ ช่วงครึ่งแรกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากนโยบายภาครัฐที่ให้มีการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมน้ำมันไบโอดีเซลเป็น B7 ที่ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 หลังจากราคาน้ำมันปาล์มดิบ เริ่มปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับภาวะปกติ ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ทำให้ความต้องการโดยรวมของเมทิลเอสเทอร์เพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่แฟตตี้แอลกอฮอล์ มีแนวโน้มทรงตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากสภาวะเศษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย จากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกต่างๆ รวมถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ในขณะที่ด้านอุปทานโดยรวมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการที่ผู้ผลิตรายใหญ่หลายรายในต่างประเทศกลับมาดำเนินการผลิตได้ตามปกติหลังจากมีการหยุดซ่อมบำรุงไป  รวมถึงการยกเลิกนโยบาย Domestic Market Obligation (DMO) ของประเทศอินโดนีเซียที่ทำให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกแฟตตี้แอลกอฮอล์ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น

กลีเซอรีน คาดว่าแนวโน้มในครึ่งแรกของปี 2566 จะปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการใช้กลีเซอรีนในกลุ่มอุตสาหกรรม Epichlorohydrin ในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งสถานการณ์เศษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนไหว  มีผลต่อกำลังซื้อ ด้านอุปทานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการ ปรับเพิ่มอัตราการผสมไบโอดีเซลมากขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้อุปทานโดยรวมของผลิตภัณฑ์พลอยได้อย่างกลีเซอรีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปด้วย 

เอทานอล มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากมาตรการของรัฐที่ลดการสนับสนุนราคาแก๊สโซฮอล์ E85 ลง เพื่อช่วยพยุงฐานะของกองทุนน้ำมัน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเกรดดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ราคาเอทานอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตเอทานอล มีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคาตลาดเอทานอลเฉลี่ยโดยรวมในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

สำหรับภาพรวมธุรกิจในครึ่งปีหลัง มองว่า ธุรกิจหลัก (Core Business) ซึ่งเป็นธุรกิจเมทิลเอสเทอร์หรือไบโอดีเซลยังมีการเติบโตแข็งแกร่งเมื่อเทียบจากครึ่งปีแรก เนื่องจากการนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐให้มีการเพิ่มสัดส่วน B7 ต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังติดตามผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สำหรับในกลุ่มธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก หากภาพรวมการส่งออกได้รับผลกระทบกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ พยายามที่จะปรับการดำเนินงานให้ยังคงระดับของอัตรากำไรให้ยังคงดี เพื่อสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจปัจจุบันตามแผนการเติบโตของธุรกิจที่จะมีความก้าวหน้าในช่วงครึ่งปีหลังอย่างชัดเจน

ผลการดำเนินงานของ GGC ในไตรมาสแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย รวมทั้งหมด 4,662 ล้านบาท มี Adjusted EBITDA อยู่ที่ 281 ล้านบาท (ซึ่งหักผลกระทบ Stock Loss แล้ว) และมีกำไรสุทธิ 40 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิลดลงจากปีก่อน 92% แต่ปรับตัวดีขึ้น 131% จากไตรมาสก่อนหน้าที่มีผลกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2565 เป็นลบ

โดยธุรกิจเมทิลเอสเทอร์ในไตรมาส 1/2566 มีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17% จากนโยบายของภาครัฐที่มีการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมน้ำมันไบโอดีเซลจาก B5 เป็น B7 ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศปรับตัวลดลง ตามราคาน้ำมันปาล์มดิบในต่างประเทศ เนื่องจากการที่ระดับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบในมาเลเซียและอินโดนีเซียอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับระดับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจกลีเซอรีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ราคากลีเซอรีนปรับตัวลดลง 59% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากอุปทานเพิ่มขึ้นจากการผลิตไบโอดีเซลที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้ปรับตัวลดลง

ด้านธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์ในไตรมาส 1/2566 มีปริมาณการขายลดลงเล็กน้อย 7% จากปีก่อน เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ลดลง ประกอบกับราคาแฟตตี้แอลกอฮอล์ปรับลดลง 44% จากปีก่อน เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตรายใหญ่ในต่างประเทศกลับมาผลิตได้เต็มกำลัง รวมถึงมีผู้ผลิตแฟตตี้แอซิด (Fatty Acids) หลายราย ได้ปรับเปลี่ยนมาผลิตเป็นแฟตตี้แอลกอฮอล์มากขึ้น          อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่ผันผวน GGC ยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้กลยุทธ์ The New Chapter of GGC to be the Sustainable Growth Business” ในการสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจปัจจุบัน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมี เพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่โดดเด่นและเป็นองค์กรต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี

SSP เดินเกมส์รุก! ลุยโรงไฟฟ้า Renewable ในต่างแดน จ่อบุกเวียดนามเต็มสูบ หลังรัฐอนุมัติ PDP8 ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตโตเท่าตัวทะลุ 500 MW

SSP เดินเกมส์รุก! ลุยโรงไฟฟ้า Renewable ในต่างแดน จ่อบุกเวียดนามเต็มสูบ หลังรัฐอนุมัติ PDP8 ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตโตเท่าตัวทะลุ 500 MW

บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) เล็งขยายการลงทุนพลังทดแทนต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ย้ำกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ตั้งเป้ามีกำลังผลิตโรงไฟฟ้า Renewable ทุกรูปแบบ โตเท่าตัวในอีก 3 ปี บิ๊กบอส “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์” เล็งเข้าลงทุนและพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานงานทดแทนต่อยอด หลังรัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติแผนพัฒนาพลังงานฉบับที่ 8 หรือ PDP8 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SSP) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลดำเนินงานในปี 2566 นี้ เชื่อว่ายังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผน  อีกทั้งบริษัทฯ ยังมองหาโอกาสเพื่อเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน และการใช้กลยุทธ์ทำ M&A ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาปิดดิล รวมถึงการเข้าลงทุนในเวียดนามตามแผนพัฒนาพลังงาน PDP8 ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุน ทำให้พอร์ตกำลังผลิตเติบโตเท่าตัวในอีก 3 ปี

หลังจาก รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติแผนพัฒนาพลังงานฉบับที่ 8 หรือ PDP8 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับภูมิภาคอาเซียนและมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2573 โดยแผนดังกล่าว จะมีการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในประเทศเวียดนามให้ไม่น้อยกว่า 150 GW ภายในปี 2573 และในช่วงที่ผ่านมา SSP เป็นบริษัทฯหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในการเข้าไปพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเวียดนาม และเตรียมเข้าไปพัฒนาต่อยอดในโครงการต่างๆ อาทิเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานทดแทนรูปแบบอื่นๆ

สำหรับโครงการในเวียดนามของ SSP ที่ได้แก่ โซลาร์ฟาร์ม Binh Nguyen ขนาดกำลังการผลิต 49.61 MW และ โครงการวินด์ฟาร์มในประเทศเวียดนาม ขนาดกำลังผลิต 48 MW ที่สามารถ COD ได้ตามแผน ซึ่งจะเห็นว่าโครงการที่ SSP เข้าไปลงทุนล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และรัฐบาลเวียดนาม และการอนุมัติแผนพัฒนาพลังงาน PDP8 ในเวียดนามในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ SSP เข้าไปลงทุนและพัฒนาโครงการต่อยอด  สนับสนุนการขยายพอร์ตกำลังผลิตได้แบบก้าวกระโดด

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SSP กล่าวอีกว่า ปัจจุบันบริษัทฯมีฐานะทางการเงินที่มีความแข็งแกร่ง รองรับแผนการขยายพอร์ตโรงไฟฟ้า Renewable ทุกรูปแบบ โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เปิดดำเนินงานแล้ว 236 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าหมายในอีก 3 ปี มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็นเท่าตัวทะลุ 500 MW โดยมีสัดส่วนจากแหล่งพลังงานใหม่ๆ เช่น พลังงานลม หรือ ชีวมวล เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น

ทั้งนี้ หลังผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯในไตรมาส 1/66  (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566) มีรายได้จากการขายและให้บริการ  761 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9%  และมีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท 256 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 83% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ที่มีรายได้จากการขายและให้บริการ 698 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 140 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นภาพการปรับตัวขึ้นของผลประกอบการอย่างเด่นชัด

TIDLOR ปรับลดเป้า NPL เหลือต่ำกว่า 1.8% พร้อมปรับต้นทุนด้านเครดิตลง สะท้อนความสามารถการคุมคุณภาพหนี้

TIDLOR ปรับลดเป้า NPL เหลือต่ำกว่า 1.8% พร้อมปรับต้นทุนด้านเครดิตลง สะท้อนความสามารถการคุมคุณภาพหนี้

นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (TIDLOR) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ปรับประมาณการตัวเลขอัตราหนี้เสีย (NPL ratio) ในปีนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1.8% จากเป้าหมายเดิมที่ต่ำกว่า 2% ซึ่งเป็นผลมาจากการมุ่งเน้นดำเนินนโยบายพิจารณาสินเชื่ออย่างรอบคอบ ส่งผลให้อัตราหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาส 1/2566 ลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ 1.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง ขณะเดียวกันได้ปรับลดต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิต  (Credit cost) ในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.00-3.35% จากเป้าหมายเดิมที่ 3.00-3.50%  โดยการปรับเป้าในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อสะท้อนความสามารถในการควบคุมคุณภาพหนี้ในปัจจุบัน และยังคงการตั้งสำรองในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ กล่าวว่า ยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้อยู่ที่ระดับ 10-20% ขณะที่ไตรมาส 1/2566  เติบโต 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังคงตั้งเป้าหมายการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องสำหรับเบี้ยประกันวินาศภัยที่ระดับ 20-25% ขณะที่ไตรมาส 1/2566 เติบโต 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการพัฒนาประสิทธิภาพและการลงทุนในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องพึ่งพิงการเปิดสาขาเพียงอย่างเดียว สำหรับท่านนักลงทุนและผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของ TIDLOR ได้ที่เว็บไซต์ www.tidlorinvestor.com

“TBN” จัดทัพโรดโชว์ ชูศักยภาพการเติบโต รับเทรนด์ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม ก่อนขายไอพีโอเร็วๆ นี้

"TBN" จัดทัพโรดโชว์ ชูศักยภาพการเติบโต รับเทรนด์ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม ก่อนขายไอพีโอเร็วๆ นี้

"บมจ. ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น (TBN)" จัดโรดโชว์ ปลื้มผลตอบรับนักลงทุนคับคั่ง ก่อนเสนอขาย IPO 25 ล้านหุ้น เร็วๆนี้ โชว์พื้นฐานธุรกิจ เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อย่างครบวงจร ระดมทุนรองรับ Digital Transformation ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เดินหน้านำเงินที่ได้จากการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจ และงานบริการ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน พร้อมก้าวสู่ผู้นำในการพัฒนาและให้บริการด้าน Digital Solutions แบบครบวงจร (One Stop Service) ที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในเอเชีย สนับสนุนแผนการเติบโตก้าวกระโดด

นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN เปิดเผยว่า บริษัทฯ นำเสนอข้อมูลธุรกิจในงานโรดโชว์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ จุดเด่น และโอกาสการเติบโตของบริษัทในอนาคต ก่อนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) ในปีนี้ บริษัทฯ พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจ การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสนับสนุนให้ TBN เติบโตตามกลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนาและให้บริการด้าน Digital Solutions แบบครบวงจร ด้วยวิสัยทัศน์ มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Low-Code และ AI-Driven และสร้าง Digital Transformation เพื่อยกระดับธุรกิจคู่ค้า ให้ไปสู่ระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขยายทีมงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับงานโครงการประเภทงานพัฒนาระบบ (Digital Solution Services) ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นในอนาคตจากการที่หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น ควบคู่ให้ความสำคัญในการควบคุมต้นทุนการให้บริการ จึงได้จัดตั้งแผนก TBN MENDIX Academy เพื่อการบริหารธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในระยะยาว

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2565 มีรายได้จากการให้บริการของบริษัทฯ อยู่ที่ 360.55 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้นจากการให้บริการ 102.39 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 28.40 และมีกำไรสุทธิ 35.56 ล้านบาท ล่าสุดผลการดำเนินงานในงวดไตรมาส 1/2566 มีรายได้จากการให้บริการของบริษัทฯ อยู่ที่ 360.55 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้นจากการให้บริการ 49.22 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 42.13 และมีกำไรสุทธิ 25.98 ล้านบาท

นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า TBN ถือเป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม Low-Code ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นมีความรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม 6-10 เท่า โดยไม่ต้องอาศัย Software Developer จำนวนมาก ทำให้เกิดผลลัพท์ทางธุรกิจสูงขึ้น จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ แต่ยังถือเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาด โดยปัจจุบัน TBN มีลูกค้าทั้งกลุ่มธนาคาร สถาบันการเงิน ค้าปลีก อุตสาหกรรมโรงงาน และภาครัฐ เป็นต้น

เงินระดมทุนครั้งนี้ จะสนับสนุนให้ TBN สามารถขยายการให้บริการพัฒนาแอปพลิเคชั่นของบริษัทฯ และขยายขอบเขตการขายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (License) ไปสู่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงกลุ่มลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้าง Platform Solution และต่อยอดการให้บริการ MENDIX สำหรับสถาบันการเงิน การธนาคาร ธุรกิจประกันภัย และอุตสาหกรรมอื่นๆ สร้างฐานลูกค้าใหม่ รวมถึงการเพิ่มยอดขายในลูกค้าเก่า ตอกย้ำ TBN คือหนึ่งในผู้นำการพัฒนาและให้บริการด้าน Digital Solutions ที่เติบโตอย่างมั่นคงในอนาคต

นายธีรฉัตร ศิลปสนธยานนท์ ผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม  หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN เปิดเผยว่า จุดเด่นที่น่าสนใจของ TBN เป็นผู้ให้บริการ Low-Code แพลตฟอร์มที่เป็นเทรนด์ของธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นที่รวดเร็ว อีกทั้ง ด้วยประสบการณ์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญในด้านการให้บริการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์มากว่า 15 ปี เป็นโอกาสขยายตลาดตอบโจทย์ลูกค้า สร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งในอนาคตไปกับยุคของดิจิทัล

ด้านนางสาววีรยา ศรีวัฒนะ หัวหน้าฝ่ายวาณิชธนกิจ  บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวถึงจุดเด่นของ TBN ว่า เป็นผู้ให้บริการ Low-Code ที่มีประสบการณ์มากที่สุดในเอเชีย โดยได้รับความไว้วางใจจาก Siemens  แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ MENDIX เพื่อผลักดันการใช้ Low-Code Platform รายแรกในประเทศไทย และปัจจุบันมีเพียงรายเดียว ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรกับผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทข้ามชาติ/ลูกค้าบลูชิปทั่วอุตสาหกรรม

อีกทั้ง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว CAGR ที่ 31.60% พร้อมแนวโน้มเชิงบวกในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และเป็นผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลแบบครบวงจรที่มีรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income) ณ สิ้นปี 2565 อยู่ในระดับสูงมากกว่า 50% ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในรายได้ของ TBN มีความมั่นคงต่อเนื่อง พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการพัฒนาและให้บริการด้าน Digital Solutions แบบครบวงจร (One Stop Service) ที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในเอเชีย ได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต

“วีระพล” CWT เก็บหุ้น 30 ล้านหุ้น

"วีระพล" CWT เก็บหุ้น 30 ล้านหุ้น

วันก่อนแอบเห็น บิ๊กล็อต CWT จำนวน 30 ล้านหุ้น มูลค่า 60 ล้านบาท!! สืบความไปมาก็ทราบว่าไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นเฮียวี "วีระพล ไชยธีรัตต์" หัวเรือใหญ่ของ  บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป หรือ CWT สะสมหุ้นเข้าพอร์ตนี่เอง ก็แหม...หุ้นพื้นฐานแกร่งเป็นทุนเดิม เพราะบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมธุรกิจเบาะหนังมาอย่างยาวนานมีออเดอร์แน่นๆ ... ผู้ถือหุ้นใหญ่มั่นใจในโอกาสขนาดนี้ กระตุกต่อมนักลงทุนทำให้อยากร่วมเป็นเจ้าของ CWT กันเลยทีเดียว

“กลุ่ม สิงห์ เอสเตท” และ “กรุงไทย” ร่วมก้าวสู่ Net Zero ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย เชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต ครั้งแรกในไทย

“กลุ่ม สิงห์ เอสเตท” และ “กรุงไทย” ร่วมก้าวสู่ Net Zero ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย เชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต ครั้งแรกในไทย

“ธนาคารกรุงไทย” ร่วมกับ “สิงห์ เอสเตท” ทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต หรือ Carbon Credit Linked Interest Rate Derivatives ครั้งแรกในไทย  ช่วยบริหารความเสี่ยงจากดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้น พร้อมจัดหาคาร์บอนเครดิต หากดำเนินงานด้าน ESG ได้ตามเป้าหมาย ตอกย้ำผู้นำบริการทางการเงินที่ยั่งยืน ตอบโจทย์เป้าหมาย Net Zero ของประเทศ

 นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ธนาคารกรุงไทย มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ ล่าสุด ธนาคารร่วมกับบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อมโยงกับคาร์บอนเครดิต  (Carbon Credit Linked Interest Rate Derivatives)  เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของตลาดทุนไทย ที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสนับสนุนการจัดหาคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพให้กับ สิงห์ เอสเตท เพื่อการชดเชยคาร์บอนจากกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนของบริษัท (Carbon Offset) หากบริษัทสามารถดำเนินงานตามเป้าหมาย ESG สำเร็จ โดยมีการกำหนดคุณสมบัติของคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Credit) ให้รองรับทั้งมาตรฐานไทย (T-VER) ซึ่งรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และมาตรฐานสากล Verified Carbon Standard ที่ออกโดยสมาคม Verra นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดประเภทคาร์บอนเครดิตที่ได้มาจากโครงการลดคาร์บอนที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-Based Solution) เช่น การปกป้องและฟื้นฟูผืนป่า เป็นต้น เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายของกลุ่มสิงห์ เอสเตท ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืน

“ความร่วมมือในครั้งนี้ ตอกย้ำการเป็นผู้นำตลาดด้านบริการทางการเงินที่ยั่งยืน (ESG Financial Solution) ที่ออกแบบและพัฒนาบริการตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้าอย่างตรงจุด สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และแนวโน้มการทำธุรกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) ในข้อ 13  เรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยธนาคารได้นำเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างครบวงจร เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ หากสิงห์ เอสเตท สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและดำเนินงานได้ตามเป้าหมายด้าน ESG ธนาคารจะสนับสนุนการจัดหาคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเป้าหมาย Net Zero Emissions ของประเทศ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)    เปิดเผยว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในด้านการเตรียมแผนพัฒนาธุรกิจให้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภายใต้พันธกิจองค์กรที่เน้นสร้างความหลากหลายที่สมดุล เพื่อนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Diversity) ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการด้านการต่อต้านภาวะโลกรวน หรือ Climate Change โดยบริษัทตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2030 ด้วยการสร้างความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมทางธุรกิจตลอดซัพพลายเชน (Supply Chain) เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในทุกหน่วยธุรกิจ    เพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอนด้วยการปลูกป่าในเขตรอยต่ออุทยานเพื่อสร้างแนวป้องกันไฟป่า โดยตั้งเป้าสร้างพื้นที่อนุรักษ์  1 ล้านตารางเมตร ภายในปี ค.ศ. 2030

“นอกจากนี้ยังขยายฐานสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานคาร์บอนต่ำ สร้างนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่จังหวัดอ่างทอง รวมทั้งพัฒนาโครงการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้พลังงานสะอาด ให้แก่บริษัทในเครือ อาทิเช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1.3 เมกะวัตต์ ในโครงการโรงแรมของกลุ่มในประเทศไทยและมัลดีฟส์ ซึ่งจะสามารถต่อยอดสู่การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคต สร้างรายได้ที่ยั่งยืนพร้อมสร้างสังคมที่มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกที่ๆ มีธุรกิจของบริษัทดำเนินอยู่” นางฐิติมา กล่าว